ภาควิชาการธนาคารและการเงินเป็นส่วนหนึ่งของคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี ซึ่งได้จัดตั้งขึ้นเป็นสาขาทางด้านพาณิชยศาสตร์ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2482 เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ความสามารถทางด้านการธนาคารและการเงินให้กับภาคธุรกิจซึ่งมีการขยายตัวอย่างสูง จนถึงปัจจุบัน ภาควิชาฯได้จัดการเรียนการสอนให้กับนิสิตทั้งในระดับปริญญาบัณฑิต มหาบัณฑิตและดุษฎีบัณฑิตให้กับหลักสูตรต่างๆที่อยู่ภายใต้การดูแลของคณะฯและภาควิชาฯจำนวนมาก
CBS is committed to developing innovative, internationally-oriented, and ethical leaders, impacting the Thai society, and advancing business-related knowledge
ภาควิชาการธนาคารและการเงิน คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชีเสนอความแข็งแกร่งทางวิชาการแต่ยังคงรักษาความเข้มข้นภาคปฏิบัติด้วยนวัตกรรมทางการศึกษาด้านการเงิน ด้วยพันธกิจทีจะผลิตบัณฑิตซึ่งพร้อมที่จะศึกษาต่อในระดับสูง ณ สถาบันชั้นนำของโลก รวมทั้งเจริญก้าวหน้าในธุรกิจการเงินและการธนาคาร
นิสิตในหลักสูตรปริญญาบัณฑิต ของคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี ทุกสาขาวิชาต้องบรรลุเป้าหมายและมีคุณสมบัติถึงเกณฑ์เป้าหมายด้านผลผลิตและวัตถุประสงค์ในการเรียนรู้ของหลักสูตรดังต่อไปนี้
ผลผลิต | วัตถุประสงค์ในการเรียนรู้ |
---|---|
องค์ความรู้ในสาขา |
|
ความคิดเชิงวิเคราะห์และการแก้ปัญหา | นิสิตสามารถวิเคราะห์ปัญหา สร้างตัวแบบเชิงปริมาณและใช้เทคนิคที่เหมาะสมในการแก้ปัญหาทางธุรกิจได้ |
ความสามารถในการติดต่อสื่อสารด้วยวาจา | นิสิตมีศักยภาพที่สื่อสารประเด็นทางธุรกิจด้วยวาจาได้อย่างมีประสิทธิผล |
ความสามารถในการติดต่อสื่อสารด้วยการเขียน | นิสิตมีศักยภาพที่สื่อสารประเด็นทางธุรกิจด้วยการเขียนได้อย่างมีประสิทธิผล |
ความรู้ความสามารถในการใช้เทคโนโลยีและข้อมูล | นิสิตสามารถใช้เทคโนโลยี ซอฟต์แวร์และเครื่องมือต่างๆในการจัดการประเด็นปัญหาทางธุรกิจได้ |
ความคิดเชิงนวัตกรรมสร้างสรรค์ | นิสิตมีความสามารถในการออกแบบ สร้างสรรค์และพัฒนาสินค้า บริการหรือกระบวนการในเชิงธุรกิจได้ |
ความรู้ในระดับโลก | นิสิตมีความรู้และมีวิสัยทัศน์ในสถานการณ์และความเป็นไปของโลกและตระหนักรู้ถึงความเชื่อมโยงกันในเชิงธุรกิจ |
ภาควิชาการธนาคารและการเงิน ให้ความสำคัญกับการวิจัยควบคู่ไปกับการเรียนการสอนของคณะ ด้วยความตระหนักว่าในโลกธุรกิจปัจจุบันมีการแข่งขันกันสูงทั้งจากภายในและต่างประเทศ มีพัฒนาการใหม่ๆเกิดขึ้นตลอดเวลา ดังนั้นการศึกษาวิจัยที่เกี่ยวข้องกับศาสตร์สาขาการเงินจะเป็นส่วนช่วยให้สามารถเข้าถึงและเข้าใจหลักทฤษฎีและการประยุกต์ใช้ รวมถึงนำความรู้ที่ได้ไปต่อยอดเผยแพร่ต่อสังคม รวมถึงนำไปสอนแก่นิสิตในชั้นเรียน
นอกจากนั้น ภาควิชาฯ ยังได้มีการสร้างความร่วมมือระหว่างสถาบันการศึกษาต่างประเทศ ภาคธุรกิจเอกชนและหน่วยงานภาครัฐ ในด้านต่างๆ เพื่อที่จะทำให้คณาจารย์และนิสิตของภาควิชาและหลักสูตรต่างๆได้มีเครือข่ายเพิ่มขึ้นจากหน่วยงานภายนอก ได้เรียนรู้จากประสบการณ์ที่หลากหลายจากผู้ปฏิบัติงานจริงเพิ่มเติม การร่วมมือกับสถาบันการศึกษาต่างประเทศทั้งในรูปแบบการแลกเปลี่ยนคณาจารย์ การแลกเปลี่ยนนิสิตผ่านทางหลักสูตรต่างๆ และการบรรยายพิเศษ ซึ่งนอกจากช่วยให้มีการเรียนรู้ระหว่างกันที่มากขึ้นแล้ว ยังเสริมสร้างบรรยากาศความเป็นนานาชาติซึ่งเป็นสิ่งที่มหาวิทยาลัยมุ่งเน้นอีกด้วย
ภาควิชาฯยังได้ลงทุนในการจัดสร้างห้องปฏิบัติการทางการเงิน เพื่อเป็นสื่อการเรียนการสอน ผ่านการสร้างสภาพแวดล้อมจำลองของตลาดการเงิน โดยใช้ซอฟต์แวร์และฐานข้อมูลชั้นนำในตลาดการเงินซึ่งนิสิตสามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารจากตลาดการเงินทั่วโลกไม่แตกต่างจากธุรกิจและสถาบันการเงินต่างๆ ภาควิชาการธนาคารและการเงิน คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชีเป็นสถาบันการศึกษาแห่งแรกของประเทศไทยและเอเชียแปซิฟิค ที่ได้ริเริ่มการจัดตั้งห้องปฏิบัติการทางเงินเพื่อใช้ในการเรียนการสอนในมหาวิทยาลัยอีกด้วย