ห้องปฏิบัติการทางการเงิน

ภาควิชาการธนาคารและการเงิน คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นสถาบันการศึกษาแห่งแรกของเอเชียแปซิฟิคและแห่งเดียวในประเทศไทย ที่จัดตั้งห้องปฏิบัติการทางการเงินซึ่งมีจำนวนคอมพิวเตอร์ให้นิสิตได้ใช้งานถึง 50 เครื่อง ซึ่งนอกเหนือจากโปรแกรมมาตรฐานแล้ว สิ่งที่ทำให้ห้องปฏิบัติการทางการเงินมีความแตกต่างจากห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ทั่วไปก็คือซอฟต์แวร์ทางการเงินจากผู้ให้บริการระดับโลก อาทิ รอยเตอร์ส บลูมเบิร์ก มอร์นิ่งสตาร์ ฐานข้อมูลทางการเงินต่างๆสำหรับการศึกษาค้นคว้าและวิจัย เช่น Datastream SDC Platinum WRDS ข้อมูลการซื้อขายหลักทรัพย์จากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยและสมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย นอกจากนั้นยังมีซอฟต์แวร์ประมวลผลทางสถิติ ได้แก่ STATA, SAS และซอฟต์แวร์จำลองการซื้อขายหลักทรัพย์ ได้แก่ FTS และ Rotman Trading Simulations ทั้งหมดนี้เป็นเครื่องแสดงความพร้อมด้านศักยภาพของสื่อการเรียนการสอนสมัยใหม่ที่มีให้กับนิสิตและคณาจารย์อย่างครบครัน เพื่อให้การเรียนรู้ในรูปแบบหลากหลาย ครบครันและทันสมัยกับสภาวการณ์ในโลกธุรกิจ

เวลาทำการ

จันทร์ - ศุกร์ 8:00 - 20:00 น.
เสาร์ 8:00 - 18:00 น.
อาทิตย์ 8:00 - 16:00 น.

ฐานข้อมูลสำหรับงานวิจัย

  • Datastream Profesional
  • SDC Platinum
  • IBES
  • Moody's Default & Recovery Database
  • SETSMART
  • SET Market Microstructure Data
  • CRSP (via WRDS)
  • Compustat (via WRDS)

ซอฟต์แวร์เฉพาะทางการเงิน

  • Thomson Reuters Eikon
  • Bloomberg Professional
  • Morningstar Direct
  • Apen
  • e-Finance Thai
  • FTS
  • Rotman Interactive Trader

โปรแกรมวิเคราะห์ทางสถิติสำหรับการวิจัย

  • SAS
  • STATA
 
นอกจากนั้น คณะฯยังได้มีกรบอกรับฐานข้อมูลงาวิจัยจากวารสารและสำนักพิมพ์ชั้นนำทั่วโลก ซึ่งเปิดให้สำหรับคณาจารย์และนิสิตสามารถเข้าถึงได้ผ่านเว็บไซต์ของสำนักหอสมุดกลาง e-Journal http://www.car.chula.ac.th/curef-db/index.html